Putao, Northern Myanmar: The Place Where You Can See Snow-capped Mountains in S/E Asia

ตั้งแต่สมัยที่ไปเดินขึ้นเขาโกตาคินาบาลู ที่มาเลเซีย ยอดเขาที่หลายคนเชื่อว่าเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อหลายปีก่อน ฉันได้รับข้อมูลมาว่าจริงๆแล้วโกตาคินาบาลูไม่ใช่ยอดเขาที่สูงที่สุดที่ว่า แต่เป็นยอดเขาทางเหนือของพม่าที่ชื่อ Hkakaborazi (คากาโบราซี) ต่างหาก เพียงแต่ว่า ยอดเขาสูงสุดถึง 5,881 เมตรแห่งนี้ เข้าถึงได้ยากจึงไม่เป็นที่รู้จัก ตั้งแต่นั้นมา เทือกเขาคากาโบราซี ก็เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ฉันอยากไปสัมผัส…แม้ว่าในปัจจุบันจะมีนักปีนเขาขึ้นไปพิชิตยอดเขาแห่งนี้ได้บ้างแล้วก็ตาม แต่เทือกเขาโดยรอบก็ยังคงเข้าถึงยากและปราศจากการท่องเที่ยวแบบล้างผลาญใดๆ เมื่อมีโอกาสที่จะได้ขึ้นไปทางเหนือของพม่า ความหวังของฉันก็สว่างวาบขึ้นมาในทันที แน่นอนว่าฉันคงไม่สามารถไปพิชิตยอดเขาได้ แต่สิ่งที่ฉันอยากเห็นก็คือยอดเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะ บริวารโดยรอบของเทือกเขาคากาโบราซี ในขณะที่ฉันยังคงอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างหาก การเดินทางไปที่เมือง Putao (ปูเตา) ในรัฐคะฉิ่น (Kachin)ทางตอนเหนือของพม่านั้น ไม่ใช่เรื่องลำบากอะไร เพราะมีเครื่องบินบินถึงสนามบินเล็กๆที่นี่แทบทุกวัน แต่ที่ลำบากกว่าคือการขออนุญาตเข้าไปในเขตพิเศษของพม่าสำหรับชาวต่างชาติต่างหาก การเข้าเมือง Putao ต้องได้รับอนุญาตล่วงหน้าจากทางราชการของพม่า ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆพอสมควร ทางที่ดีที่สุดคือให้ทางบริษัททัวร์ที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการต่างๆให้ แล้วในที่สุด ฉันก็ได้เดินทางมาถึงสนามบินเล็กกะทัดรัดที่ Putao เช่นเดียวกับสนามบินบ้านนอกอื่นๆของพม่า ฉันจะต้องเดินผ่านกระบวนการทุกอย่าง รวมทั้งตรวจคนเข้าเมือง แล้วออกมารอด้านนอกสนามบินเพื่อรอขบวนกระเป๋าที่จะออกมากับรถเข็น…อากาศที่นี่หนาวเย็นกว่าพม่าโดยรอบเพราะอยู่ทางเหนือสุด อีกทั้งยังล้อมรอบด้วยภูเขา ตัวเมืองไม่ใหญ่อะไรมากมาย ชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่ของที่นี่จะเป็นชาวฉาน (Shan) ลีซู (Lisu) และระวาง (Rawang) (เรียกรวมๆว่าชาวคะฉิ่น) และมีชาวพม่ามาทำงานก่อสร้างกันมาก (การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของที่นี่จะใช้แรงงานชาวพม่าเป็นแรงงานที่มีฝีมือเป็นหลัก เนื่องจากชาวพื้นเมืองไม่ค่อยรู้จักเครื่องมือหนักที่ใช้ในการก่อสร้าง)… Read More Putao, Northern Myanmar: The Place Where You Can See Snow-capped Mountains in S/E Asia

Kachin New Year

ใครก็ตามที่ได้เคยเดินทางไปเยือนพม่าคงปฏิเสธไม่ได้ว่าแม่น้ำอิระวดี เป็นมหานทีที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญที่สุดของประเทศนี้ แม่น้ำอิระวดีหรือที่ชาวพม่าเรียกกันว่าเอยาวดี (Ayeyarwady River) เป็นเสมือนเส้นเลือดที่สำคัญของดินแดนอันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้ ด้วยความยาวกว่าสองพันกิโลเมตรจากเหนือจรดใต้ โดยเป็นแม่น้ำของประเทศที่ไม่ได้ไหลเข้าไปในประเทศอื่นเช่นเดียวกับเจ้าพระยาของไทย แต่จะมีสักกี่คนที่ได้เดินทางไปถึงดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญสายนี้… ฉันเริ่มต้นการเดินทางไปชมจุดเริ่มต้นของแม่น้ำอิระวดีที่เมืองมิตจีนา (Myitkyina) เมืองหลวงของรัฐคะฉิ่น (Kachin) ทางตอนเหนือของประเทศพม่า ดินแดนแห่งนี้มักเป็นข่าวคราวตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เนืองๆจากปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ในบางพื้นที่ที่ยังมีการสู้รบระหว่างชาวคะฉิ่นกับรัฐบาลพม่า การท่องเที่ยวที่นี่จึงยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนักในหมู่ชาวต่างประเทศ เนื่องจากความไม่สงบในพื้นที่และความยากลำบากในการเดินทาง ถึงกระนั้นก็ตามภายในเมืองหลวงของรัฐแห่งนี้ก็สุขสงบปลอดการสู้รบมานานหลายปี นักท่องเที่ยวมีให้เห็นประปรายตามโรงแรมที่มีอยู่ไม่มากนักในเมืองแต่ที่เห็นมากกว่าคือนักธุรกิจชาวจีนที่เข้ามาทำธุรกิจในรัฐที่ตั้งอยู่ระหว่างภูเขาสูงของอินเดียและจีนแห่งนี้ พื้นที่อันกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ของรัฐคะฉิ่นเป็นแหล่งที่มีทรัพยากรแร่ธาตุอยู่อย่างมากมายมหาศาลโดยเฉพาอย่างยิ่งหยกและทองคำ ตัวเมืองมิตจีน่าเองเป็นทางผ่านของกองทหารระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นเหตุให้สถานที่ต่างๆของเมืองถูกทำลายลงจากผลของสงคราม การมาเยือนที่นี่จึงไม่ใช่การเยี่ยมชมโบราณสถานเก่าแก่แบบหลายๆเมืองของพม่า แต่เป็นการเที่ยวชมวัฒนธรรมพื้นเมืองของคนพื้นถิ่นที่นี่กับธรรมชาติอันยิ่งใหญ่มากกว่า ในเมื่อมาพักในเมืองทั้งที สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการเดินชมตลาดของเมือง ตลาดมิตจีน่าตั้งอยู่ริมแม่น้ำอิระวดีอันขึ้นชื่อ มีส่วนที่เป็นตลาดสดที่ขายปลาที่จับได้จากแม่น้ำแห่งนี้รวมไปถึงอาหารแปรรูปตากแห้ง ผักและผลไม้นานาชนิดทั้งที่ปลูกในพื้นที่และนำเข้ามาจากจีน ผู้คนที่นี่ไม่ว่าจะเป็นชาวคะฉิ่นหรือพม่าดูหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตรกับชาวต่างชาติค่อนข้างมาก ถัดออกไปมีร้านอาหารริมน้ำให้บริการนั่งชิลล์ๆชิมอาหารพื้นเมืองพร้อมชมวิวแม่น้ำกว้างใหญ่สุดสายตาที่ไหลเอื่อยๆอย่างนิ่งสงบ มองไปเห็นอีกด้านหนึ่งของฝั่งน้ำเป็นเขตห้วงห้ามสำหรับนักท่องเที่ยวปกติ ถ้าจะข้ามไปต้องขออนุญาตพิเศษ พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำยามหน้าแล้งนี้จะเป็นเขตสัมปทานร่อนทอง ที่มีคนงานชาวพม่าจากที่ต่างๆมาตั้งแคมป์ทำงานร่อนทองกันริมฝั่งน้ำอย่างเป็นกิจจะลักษณะ การร่อนทองริมน้ำแบบนี้ทำเฉพาะหน้าแล้งพอถึงหน้าน้ำ แม่น้ำอิระวดีจะเอ่อท่วมลานหินริมน้ำพาเอาตะกอนต่างๆมาให้แสวงโชคกันต่อในหน้าแล้งถัดไป การจะไปให้ถึงจุดเริ่มต้นของแม่น้ำอิระวดี จำเป็นที่จะต้องใช้รถกระบะหรือขับเคลื่อนสี่ล้อเลาะไปตามถนนเลียบลำน้ำอิระวดี ผ่านหมู่บ้านรวมถึงลัดเลาะเข้าป่าขึ้นเขาเป็นระยะๆจนไปถึงจุดเริ่มต้นของแม่น้ำอิระวดีที่ Myit-sone (มิตซอน) ซึ่งห่างออกไปประมาณ40กิโลเมตรขึ้นไปทางเหนือของมิตจีน่า ชาวคะฉิ่นเรียกจุดนี้ว่าMyit-sone ซึ่งแปลว่าจุดบรรจบกันของแม่น้ำสองสายอันได้แก่ลำน้ำเมข่า(N’Mai Kha) และลำน้ำมะลิข่า(Mali Kha) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากขุนเขาสูงทางเหนือสุดของพม่าแถบชายแดนที่ต่อเนื่องมาจากภูเขาหิมาลัย ต้นกำเนิดคือธารน้ำแข็งละลายผ่านดินแดนป่าเขาอันอุดมสมบูรณ์จากระดับ 4,600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลลงมาจนถึงประมาณ800เมตร มาบรรจบกัน ณ… Read More Kachin New Year

Inle Lake, Life on the Water

ฉันเดินทางมาถึงทะเลสาปอินเล (Inle Lake) ในช่วงวันออกพรรษาที่มีงานเทศกาลแห่พระทางเรืออันลือชื่อพอดี แม้ว่าพม่าเพิ่งจะเปิดประเทศได้ไม่นานและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ไม่มีกฎระเบียบเข้มงวดแบบแต่ก่อน การแลกเงินไว้ใช้จ่ายก็ไม่จำเป็นต้องใช้ธนบัตรอเมริกันดอลลาร์ใหม่เอี่ยมอ่องไร้ตำหนิอีกต่อไป ทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในยามนี้ ดูเหมือนว่าผู้คนที่มารวมตัวกันอยู่ในเมืองนองชเว (Nyaung Shwe) เมืองเล็กๆที่เป็นศูนย์รวมของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวทะเลสาปอินเล (Inle Lake) ทะเลสาปน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศพม่า ในเขตอำเภอตองยี รัฐฉาน แห่งนี้ ดูจะมีแต่คนพื้นเมืองอยู่อย่างมากมายหนาตา มากกว่านักท่องเที่ยวต่างถิ่นอย่างพวกเรามากนักชาวบ้านชาวเมืองพม่า ต่างมารวมตัวกันมากมายที่เมืองนี้ก็เพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานบุญสำคัญของท้องถิ่น อันได้แก่งานแห่พระทางน้ำที่กินเวลาทั้งสิ้นเนินน่านเกือบสามอาทิตย์ ในวันที่ฉันไปถึง เริ่มมีการตั้งร้านรวงมากมายตามถนนสายหลักบริเวณรอบเจดีย์ยาดามาร์มะนอง (Yadamar Manaung)กลางเมือง บรรยากาศคล้ายงานวัดบ้านเรา เนื่องจากขบวนแห่เรือกำลังจะเดินทางมาถึงเมืองนี้ และมีการแห่พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มาไว้ที่วัดนี้ให้ผู้คนได้นมัสการเป็นเวลาสามคืน ฉันได้ข่าวเมื่อตอนมาถึงว่าขบวนเรือได้เดินทางออกจากวัดพองเดาอู (Phaung Daw Oo Temple) ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปในช่วงเวลาปกติมาได้สี่ห้าวันแล้ว (งานเทศกาลนี้จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Phaung Daw Oo Pagoda Festival ตามชื่อวัด) ขบวนเรือจะหยุดตามหมู่บ้านต่างๆให้ผู้คนได้นมัสการพระพุทธรูป ครึ่งวันบ้าง ค้างคืนบ้างแล้วแต่สถานที่ แต่ที่เมืองนี้จะหยุดอยู่นานที่สุดคือเป็นเวลา 3 วัน 3 คืนหลังจากเข้าที่พักเรียบร้อย ฉันสอบถามถึงเส้นทางแห่เรือที่จะมาที่นี่ และเดินไปที่ริมลำน้ำสายเล็กๆในเมืองที่ไหลต่อเนื่องเชื่อมกับทะเลสาป เพื่อติดต่อเรือยนต์ไปเที่ยวชมทะเลสาปและงานบุญในครั้งนี้สำหรับวันรุ่งขึ้น แล้วจึงออกเดินเที่ยวในตลาดวัดชั่วคราวที่ถูกสร้างขึ้นเพื่องานบุญนี้… Read More Inle Lake, Life on the Water