Buryatia Region of the East Siberia

ฉันนั่งๆ นอนๆ บนรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียมาจากเมือง Vladivostok (วลาดิวอสต็อค) เป็นเวลา 3 คืน เพื่อมาลงรถไฟที่สถานี Ulan-Ude (อุลังอุเด) เมืองหลวงของรัฐ Buryatia (บุริยาเทีย คือเสียงอ่านตามที่ได้ยิน ถ้าตามวิกิ เขาเขียน “บูเรียตียา”) ที่นี่ตั้งอยู่ในภูมิภาคไซบีเรียตะวันออกของประเทศรัสเซีย นอกจากเขตที่ตั้งของตัวเมืองแล้ว ภูมิประเทศโดยทั่วไปของที่นี่จะเป็นทุ่งหญ้ากว้างๆโล่งๆคล้ายๆกับมองโกเลีย บริเวณที่มีการทำการเกษตรฯ จะปลูกข้าวสาลีและมันฝรั่งเป็นหลัก ห่างออกไปไกลๆจะเป็นภูเขาที่มีป่าสน ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง จากการตัดท่อนซุงจากบนเขาเอามาใช้เองในภูมิภาคและส่วนหนึ่งส่งออกไปที่ประเทศจีน บางส่วนที่เคยเป็นไร่นารวม (Collective farm) สมัยคอมมิวนิสต์และยังไม่มีคนมาจับจอง ก็จะกลายเป็นที่โล่งๆมีหญ้าขึ้นบ้างต้นไม้ขึ้นบ้างผสมกันไป อย่างไรก็ดีที่นี่ถือเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในรัสเซียด้วย เลยขาดไม่ได้ที่จะไปเยี่ยมชมวัดวาอารามของดินแดนแถบนี้กันก่อน วัดแรกที่ไปมีชื่อว่า Ivolginsky Datsan (อิโวลกินสกี้ ดัตซัน) ตั้งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง Ulan-Ude โดยทางรถยนต์ประมาณ 1 ชั่วโมง ถือเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของดินแดนแถบนี้ สร้างขึ้นในปี ค.ศ 1946…หากสงสัยว่ามันเก่ายังไง ยังไม่ถึงร้อยปี!?…ลองนึกย้อนกลับไปว่า ในช่วงปี 1946 นั้น รัสเซียยังเป็นสหภาพโซเวียต เป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งกวาดล้างศาสนาทั้งหมด แต่วัดนี้กลับตั้งขึ้นมาได้ช่วงนั้น!?… Read More Buryatia Region of the East Siberia

Journey Along the Sepik River (II): Crocodile Skins

…พิธี Wan Waru (วานวารุ) หรือแปลตามตัวว่าพิธี Crocodile Bites อันเป็นพิธีที่มีการกรีดผิวหนังตามลำตัวและบำบัดผิวหนังให้ทิ้งรอยแผลเป็นเป็นรอยนูนขึ้นมาคล้ายเกล็ดหนังจระเข้… Read More Journey Along the Sepik River (II): Crocodile Skins

Crocodile Festival in Papua New Guinea

ชาวพื้นเมืองแห่งลุ่มน้ำ Sepik จากหลายๆหมู่บ้านมารวมตัวกันในเทศกาลประจำปีที่เรียกว่าเทศกาลจระเข้แห่งสายน้ำซีปิก “ The Sepik Crocodile Festival”
เสียงร้องรำทำเพลงจากกลางลานเริ่มขึ้น มีชนเผ่าจากหมู่บ้านหนึ่งมาถึงแล้ว และแต่งตัวกันเต็มยศมาก คำว่า “เต็มยศ” ในที่นี้ของฉันคือการนุ่งน้อยห่มน้อยตามฉบับชาวพื้นเมืองด้วยใบไม้แห้งหรือผ้างานฝีมือจากเส้นใยธรรมชาติ ประดับตกแต่งร่างกายด้วยสิ่งต่างๆที่หาได้จากธรรมชาติ เช่นเปลือกหอย ใบไม้ เขี้ยวจระเข้ เขี้ยวหมูป่า ขนนก โดยเฉพาะขนนกปักษาสวรรค์ (Bird-of-Paradise) และคาสโซวารี (Cassowary) และการทาสีตามตัวด้วยดินและโคลน… Read More Crocodile Festival in Papua New Guinea

Kachin New Year

ใครก็ตามที่ได้เคยเดินทางไปเยือนพม่าคงปฏิเสธไม่ได้ว่าแม่น้ำอิระวดี เป็นมหานทีที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญที่สุดของประเทศนี้ แม่น้ำอิระวดีหรือที่ชาวพม่าเรียกกันว่าเอยาวดี (Ayeyarwady River) เป็นเสมือนเส้นเลือดที่สำคัญของดินแดนอันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้ ด้วยความยาวกว่าสองพันกิโลเมตรจากเหนือจรดใต้ โดยเป็นแม่น้ำของประเทศที่ไม่ได้ไหลเข้าไปในประเทศอื่นเช่นเดียวกับเจ้าพระยาของไทย แต่จะมีสักกี่คนที่ได้เดินทางไปถึงดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญสายนี้… ฉันเริ่มต้นการเดินทางไปชมจุดเริ่มต้นของแม่น้ำอิระวดีที่เมืองมิตจีนา (Myitkyina) เมืองหลวงของรัฐคะฉิ่น (Kachin) ทางตอนเหนือของประเทศพม่า ดินแดนแห่งนี้มักเป็นข่าวคราวตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เนืองๆจากปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ในบางพื้นที่ที่ยังมีการสู้รบระหว่างชาวคะฉิ่นกับรัฐบาลพม่า การท่องเที่ยวที่นี่จึงยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนักในหมู่ชาวต่างประเทศ เนื่องจากความไม่สงบในพื้นที่และความยากลำบากในการเดินทาง ถึงกระนั้นก็ตามภายในเมืองหลวงของรัฐแห่งนี้ก็สุขสงบปลอดการสู้รบมานานหลายปี นักท่องเที่ยวมีให้เห็นประปรายตามโรงแรมที่มีอยู่ไม่มากนักในเมืองแต่ที่เห็นมากกว่าคือนักธุรกิจชาวจีนที่เข้ามาทำธุรกิจในรัฐที่ตั้งอยู่ระหว่างภูเขาสูงของอินเดียและจีนแห่งนี้ พื้นที่อันกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ของรัฐคะฉิ่นเป็นแหล่งที่มีทรัพยากรแร่ธาตุอยู่อย่างมากมายมหาศาลโดยเฉพาอย่างยิ่งหยกและทองคำ ตัวเมืองมิตจีน่าเองเป็นทางผ่านของกองทหารระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นเหตุให้สถานที่ต่างๆของเมืองถูกทำลายลงจากผลของสงคราม การมาเยือนที่นี่จึงไม่ใช่การเยี่ยมชมโบราณสถานเก่าแก่แบบหลายๆเมืองของพม่า แต่เป็นการเที่ยวชมวัฒนธรรมพื้นเมืองของคนพื้นถิ่นที่นี่กับธรรมชาติอันยิ่งใหญ่มากกว่า ในเมื่อมาพักในเมืองทั้งที สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการเดินชมตลาดของเมือง ตลาดมิตจีน่าตั้งอยู่ริมแม่น้ำอิระวดีอันขึ้นชื่อ มีส่วนที่เป็นตลาดสดที่ขายปลาที่จับได้จากแม่น้ำแห่งนี้รวมไปถึงอาหารแปรรูปตากแห้ง ผักและผลไม้นานาชนิดทั้งที่ปลูกในพื้นที่และนำเข้ามาจากจีน ผู้คนที่นี่ไม่ว่าจะเป็นชาวคะฉิ่นหรือพม่าดูหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตรกับชาวต่างชาติค่อนข้างมาก ถัดออกไปมีร้านอาหารริมน้ำให้บริการนั่งชิลล์ๆชิมอาหารพื้นเมืองพร้อมชมวิวแม่น้ำกว้างใหญ่สุดสายตาที่ไหลเอื่อยๆอย่างนิ่งสงบ มองไปเห็นอีกด้านหนึ่งของฝั่งน้ำเป็นเขตห้วงห้ามสำหรับนักท่องเที่ยวปกติ ถ้าจะข้ามไปต้องขออนุญาตพิเศษ พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำยามหน้าแล้งนี้จะเป็นเขตสัมปทานร่อนทอง ที่มีคนงานชาวพม่าจากที่ต่างๆมาตั้งแคมป์ทำงานร่อนทองกันริมฝั่งน้ำอย่างเป็นกิจจะลักษณะ การร่อนทองริมน้ำแบบนี้ทำเฉพาะหน้าแล้งพอถึงหน้าน้ำ แม่น้ำอิระวดีจะเอ่อท่วมลานหินริมน้ำพาเอาตะกอนต่างๆมาให้แสวงโชคกันต่อในหน้าแล้งถัดไป การจะไปให้ถึงจุดเริ่มต้นของแม่น้ำอิระวดี จำเป็นที่จะต้องใช้รถกระบะหรือขับเคลื่อนสี่ล้อเลาะไปตามถนนเลียบลำน้ำอิระวดี ผ่านหมู่บ้านรวมถึงลัดเลาะเข้าป่าขึ้นเขาเป็นระยะๆจนไปถึงจุดเริ่มต้นของแม่น้ำอิระวดีที่ Myit-sone (มิตซอน) ซึ่งห่างออกไปประมาณ40กิโลเมตรขึ้นไปทางเหนือของมิตจีน่า ชาวคะฉิ่นเรียกจุดนี้ว่าMyit-sone ซึ่งแปลว่าจุดบรรจบกันของแม่น้ำสองสายอันได้แก่ลำน้ำเมข่า(N’Mai Kha) และลำน้ำมะลิข่า(Mali Kha) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากขุนเขาสูงทางเหนือสุดของพม่าแถบชายแดนที่ต่อเนื่องมาจากภูเขาหิมาลัย ต้นกำเนิดคือธารน้ำแข็งละลายผ่านดินแดนป่าเขาอันอุดมสมบูรณ์จากระดับ 4,600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลลงมาจนถึงประมาณ800เมตร มาบรรจบกัน ณ… Read More Kachin New Year

Inle Lake, Life on the Water

ฉันเดินทางมาถึงทะเลสาปอินเล (Inle Lake) ในช่วงวันออกพรรษาที่มีงานเทศกาลแห่พระทางเรืออันลือชื่อพอดี แม้ว่าพม่าเพิ่งจะเปิดประเทศได้ไม่นานและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ไม่มีกฎระเบียบเข้มงวดแบบแต่ก่อน การแลกเงินไว้ใช้จ่ายก็ไม่จำเป็นต้องใช้ธนบัตรอเมริกันดอลลาร์ใหม่เอี่ยมอ่องไร้ตำหนิอีกต่อไป ทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในยามนี้ ดูเหมือนว่าผู้คนที่มารวมตัวกันอยู่ในเมืองนองชเว (Nyaung Shwe) เมืองเล็กๆที่เป็นศูนย์รวมของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวทะเลสาปอินเล (Inle Lake) ทะเลสาปน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศพม่า ในเขตอำเภอตองยี รัฐฉาน แห่งนี้ ดูจะมีแต่คนพื้นเมืองอยู่อย่างมากมายหนาตา มากกว่านักท่องเที่ยวต่างถิ่นอย่างพวกเรามากนักชาวบ้านชาวเมืองพม่า ต่างมารวมตัวกันมากมายที่เมืองนี้ก็เพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานบุญสำคัญของท้องถิ่น อันได้แก่งานแห่พระทางน้ำที่กินเวลาทั้งสิ้นเนินน่านเกือบสามอาทิตย์ ในวันที่ฉันไปถึง เริ่มมีการตั้งร้านรวงมากมายตามถนนสายหลักบริเวณรอบเจดีย์ยาดามาร์มะนอง (Yadamar Manaung)กลางเมือง บรรยากาศคล้ายงานวัดบ้านเรา เนื่องจากขบวนแห่เรือกำลังจะเดินทางมาถึงเมืองนี้ และมีการแห่พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มาไว้ที่วัดนี้ให้ผู้คนได้นมัสการเป็นเวลาสามคืน ฉันได้ข่าวเมื่อตอนมาถึงว่าขบวนเรือได้เดินทางออกจากวัดพองเดาอู (Phaung Daw Oo Temple) ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปในช่วงเวลาปกติมาได้สี่ห้าวันแล้ว (งานเทศกาลนี้จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Phaung Daw Oo Pagoda Festival ตามชื่อวัด) ขบวนเรือจะหยุดตามหมู่บ้านต่างๆให้ผู้คนได้นมัสการพระพุทธรูป ครึ่งวันบ้าง ค้างคืนบ้างแล้วแต่สถานที่ แต่ที่เมืองนี้จะหยุดอยู่นานที่สุดคือเป็นเวลา 3 วัน 3 คืนหลังจากเข้าที่พักเรียบร้อย ฉันสอบถามถึงเส้นทางแห่เรือที่จะมาที่นี่ และเดินไปที่ริมลำน้ำสายเล็กๆในเมืองที่ไหลต่อเนื่องเชื่อมกับทะเลสาป เพื่อติดต่อเรือยนต์ไปเที่ยวชมทะเลสาปและงานบุญในครั้งนี้สำหรับวันรุ่งขึ้น แล้วจึงออกเดินเที่ยวในตลาดวัดชั่วคราวที่ถูกสร้างขึ้นเพื่องานบุญนี้… Read More Inle Lake, Life on the Water

Challenging the Altitude in Ladakh (1)

กล่าวกันว่าลาดักห์ ดินแดนที่ตั้งอยู่ในแคว้นทางเหนือของอินเดีย โอบล้อมด้วยขุนเขาที่มียอดสูงกว่า 7,000 เมตร ระหว่างที่ราบสูงทิเบตและเทือกเขาหิมาลัยทางทิศตะวันตกแห่งนี้ เป็นดินแดนที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ที่ “สูงที่สุดและแห้งแล้งที่สุด” แห่งหนึ่งของโลก แต่ดินแดนเดียวกันนี้ก็เป็นชุมทางการค้าที่สำคัญระหว่างอินเดีย จีนและเอเชียกลางมาแต่โบราณ จนได้ชื่อว่าเป็น “ดินแดนแห่งเส้นผ่านทางในที่สูง” อันเป็นความหมายและที่มาของคำว่า “ลาดักห์” จนเมื่อมีปัญหาทางการเมืองทางชายแดนระหว่างจีนกับทิเบต และเส้นทางถูกปิดกั้น เส้นทางการค้าแห่งนี้ก็ซบเซาลง ทิ้งไว้แต่วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของพุทธศาสนาแบบทิเบตที่เข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแห่งนี้ ที่ได้หล่อหลอมผู้คนและวัฒนธรรมประเพณีอันมีความโดดเด่นเฉพาะตัว ไม่น่าแปลกใจว่าเมื่อเริ่มมีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านเข้ามาในบริเวณนี้เมื่อ 30-40 ปีก่อน จะตั้งฉายาลาดักห์แห่งนี้ว่า “ทิเบตน้อย (Little Tibet)” ฉันเดินทางมาถึงเลห์ (Leh) เมืองที่ตั้งอยู่ที่ความสูง 3,505 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลในหุบเขาสินธุ อันเรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงของลาดักห์ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในหน้าร้อน ที่อากาศไม่หนาวเหน็บจนเกินไป โดยสายการบินภายในประเทศที่บินตรงจากเมืองหลวงของประเทศอย่างกรุงนิวเดลฮี ที่ช่วยร่นระยะเวลาในการเดินทางไม่ใช่น้อย จากการเดินทางแบบเดิมที่ต้องรอนแรมตีรถขึ้นเหนือมาเรื่อยๆจากเมืองทางด้านใต้อย่างมานาลี ที่ต้องใช้เวลาเป็นวันๆกว่าจะมาถึง หรือเดินทางลัดเลาะมาตามถนนจากทางด้านเมืองศรีนาคาในแคชเมียร์ทางทิศตะวันตก หากแต่การมาถึงที่ระดับความสูงเกินกว่า 3,500 เมตร จากพื้นราบในทันทีทันใดแบบนี้ ก็หลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องระมัดระวังกับอาการที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นประจำสำหรับคนที่ไม่คุ้นชิน อันได้แก่ ปวดหัว นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ฯลฯ ที่เรียกกันว่า โรคความสูง (altitude sickness) ซึ่งจะไม่เกิดอาการในทันที และจะแสดงอาการอย่างเด่นชันเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ… Read More Challenging the Altitude in Ladakh (1)