Kazan: The Cauldron of Tatarstan

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีข่าน (Khan) องค์หนึ่งต้องการที่จะสร้างเมือง เขาถามราษฎรของเขาว่า “เราควรจะสร้างเมืองที่ไหนดี?” มีเสียงตอบกลับขึ้นมาว่า “จงเติมน้ำในหม้อต้ม (ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า Kazan) วางไว้บนเกวียนเทียมม้า แล้วจุดไฟใต้หม้อต้มน้ำนั้น แล้วปล่อยให้ม้าเดินออกไป หากน้ำในหม้อต้มนั้นเดือดที่ไหน ก็ให้สร้างเมือง ณ ตรงจุดนั้น” แล้วพวกเขาก็ทำตามเสียงนั่น น้ำในหม้อต้มที่ว่ามาเดือดในอาณาเขตที่เป็นที่ตั้งของเมือง Kazan (คาซาน)ในปัจจุบัน… Read More Kazan: The Cauldron of Tatarstan

Yekaterinburg: the Threshold Between Asian and European Russia

เมืองนี้ยังเป็นจุดที่เกิดเหตุสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่นการปลงพระชนม์ Tsar Nicolas II (พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2) จักรพรรดิองค์สุดท้ายของรัสเซียและสมาชิกครอบครัวในราชวงศ์โดยกลุ่ม Bolsheviks (บอลเชวิคส์) ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1918… Read More Yekaterinburg: the Threshold Between Asian and European Russia

Krasnoyarsk เมือง ณ กึ่งกลางเส้นทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย

ลองมาพิสูจน์กันเองว่าเมือง Krasnoyarsk เป็นจริงดั่งที่ตัวเมืองโฆษณาตัวเองว่าได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองหนึ่งที่ “สะดวกสบาย” ที่สุดของรัสเซีย และได้รับการยกย่องจากนักเขียนบทละครชาวรัสเซีย Anton Chekhov (อันตอน เชฟคอฟ) ว่าเป็น “เมืองที่สวยที่สุดในไซบีเรีย” หรือไม่… Read More Krasnoyarsk เมือง ณ กึ่งกลางเส้นทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย

Buryatia Region of the East Siberia

ฉันนั่งๆ นอนๆ บนรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียมาจากเมือง Vladivostok (วลาดิวอสต็อค) เป็นเวลา 3 คืน เพื่อมาลงรถไฟที่สถานี Ulan-Ude (อุลังอุเด) เมืองหลวงของรัฐ Buryatia (บุริยาเทีย คือเสียงอ่านตามที่ได้ยิน ถ้าตามวิกิ เขาเขียน “บูเรียตียา”) ที่นี่ตั้งอยู่ในภูมิภาคไซบีเรียตะวันออกของประเทศรัสเซีย นอกจากเขตที่ตั้งของตัวเมืองแล้ว ภูมิประเทศโดยทั่วไปของที่นี่จะเป็นทุ่งหญ้ากว้างๆโล่งๆคล้ายๆกับมองโกเลีย บริเวณที่มีการทำการเกษตรฯ จะปลูกข้าวสาลีและมันฝรั่งเป็นหลัก ห่างออกไปไกลๆจะเป็นภูเขาที่มีป่าสน ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง จากการตัดท่อนซุงจากบนเขาเอามาใช้เองในภูมิภาคและส่วนหนึ่งส่งออกไปที่ประเทศจีน บางส่วนที่เคยเป็นไร่นารวม (Collective farm) สมัยคอมมิวนิสต์และยังไม่มีคนมาจับจอง ก็จะกลายเป็นที่โล่งๆมีหญ้าขึ้นบ้างต้นไม้ขึ้นบ้างผสมกันไป อย่างไรก็ดีที่นี่ถือเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในรัสเซียด้วย เลยขาดไม่ได้ที่จะไปเยี่ยมชมวัดวาอารามของดินแดนแถบนี้กันก่อน วัดแรกที่ไปมีชื่อว่า Ivolginsky Datsan (อิโวลกินสกี้ ดัตซัน) ตั้งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง Ulan-Ude โดยทางรถยนต์ประมาณ 1 ชั่วโมง ถือเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของดินแดนแถบนี้ สร้างขึ้นในปี ค.ศ 1946…หากสงสัยว่ามันเก่ายังไง ยังไม่ถึงร้อยปี!?…ลองนึกย้อนกลับไปว่า ในช่วงปี 1946 นั้น รัสเซียยังเป็นสหภาพโซเวียต เป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งกวาดล้างศาสนาทั้งหมด แต่วัดนี้กลับตั้งขึ้นมาได้ช่วงนั้น!?… Read More Buryatia Region of the East Siberia

Olkhon Island: The Jewel of the Baikal Lake

Olkhon Island เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เดินทางมาถึงทะเลสาบไบคาลแล้วต้องการชื่นชมธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทัศนียภาพอันงดงามมองเห็นได้กว้างไกล และความศักดิ์สิทธิ์ของพื้นที่ พร้อมประวัติศาสตร์เล็กๆน้อยๆบางจุดที่น่าสนใจ… Read More Olkhon Island: The Jewel of the Baikal Lake

รู้ไว้ล่วงหน้า…การเดินทางบนเส้นทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย

บทความนี้คือข้อมูลในการเตรียมตัวเดินทางสำหรับคนที่สนใจเส้นทางสายนี้ จากประสบการณ์การเดินทางตลอดเส้นทางรถไฟทรานส์ไซบีเรียจากวลาดิวอสต๊อกไปจนถึงมอสโคว์ โดยใช้เวลาทั้งสิ้นหนึ่งเดือน บทเส้นทางประมาณ 10,000 กิโลเมตร (รวมการเดินทางโดยรถยนต์ไปเที่ยวตามที่ท่องเที่ยวอื่นๆและไปเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จริงๆทางรถไฟเส้นนี้ ยาว 9,288 กิโลเมตร) โดยแวะเที่ยวตามเมืองต่างๆตลอดเส้นทาง ที่ละ 1-5 วัน ก่อนกลับมาขึ้นรถไฟที่สถานีเดิมแล้วเดินทางต่อ อนึ่งในการเดินทางครั้งนี้ อยู่เฉพาะในประเทศรัสเซีย ไม่ได้เดินทางผ่านเข้าออกไปที่จีนหรือมองโกลเลียแต่อย่างใด ระยะเวลาที่อยู่บนรถไฟนานที่สุดคือประมาณ 3 คืน ที่สั้นที่สุดคือไม่ถึงวัน (คือไม่ต้องค้างบนรถไฟ หรือขึ้นดึกๆไปถึงอีกทีแต่เช้า คือขึ้นไปนอนอย่างเดียว) โดยขอสรุปเป็นข้อๆดังต่อไปนี้ หมายเหตุ: ในที่นี้ไม่ได้กล่าวถึงการจองตั๋วรถไฟ/ราคา/งบประมาณนะคะ ส่วนหนึ่งของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆที่ผ่านไปนั้น ได้เขียนบันทึกไว้ใน FB Page: Lah-no-tabi ค่ะ ไปติดตามกันได้ถ้าสนใจ สถานีรถไฟส่วนใหญ่โดยเฉพาะในโซนไซบีเรีย เป็นสถานีใหญ่แต่มีแต่บันไดขึ้นๆลงๆเท่านั้น ไม่มีลิฟต์ให้บริการ นั่นหมายความว่า ผู้เดินทางจำเป็นต้องขนของขึ้นลงบันไดสูงๆเอง รวมถึงขนขึ้นลงรถไฟเองตลอดเวลา จึงแนะนำให้ใช้กระเป๋าที่สะดวกต่อการขึ้นลงบันได แล้วแต่ว่าจะถนัดกันอย่างไร ที่สำคัญไม่ควรมีลูกเล็กลูกน้อย หรือมีน้ำหนักมากเกินไป บอกตามตรงว่าการขนของขึ้นลงบันไดตามสถานีต่างๆนี้เป็นอุปสรรคที่สำคัญยิ่งที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าจากการเดินทางได้ง่าย ตามสถานีบางแห่งจะมีคนขนกระเป๋าไปดักรออยู่ แต่ไม่แนะนำให้ใช้บริการ เนื่องจากที่ผ่านมามีประวัติของหายกันเยอะมาก พี่แกหายไปพร้อมกระเป๋าเลย ตามยังไงก็ตามไม่ทัน อย่างไรก็ดี สถานีใหญ่ๆในโซนยุโรปนั้น จะมีลิฟต์ให้บริการด้วย… Read More รู้ไว้ล่วงหน้า…การเดินทางบนเส้นทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย