Maroc: From Fez to Volubilis

บนดินแดนทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาทางด้านฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติค เป็นที่ตั้งของประเทศที่ร่ำรวยอารยธรรมอีกแห่งหนึ่งของโลก โมร็อคโคคือดินแดนที่ฉันกำลังกล่าวถึง อันที่จริงประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่ในปัจจุบันนับถือศาสนาอิสลามแห่งนี้ มีอะไรหลายๆอย่างที่น่าเยี่ยมชม แต่สิ่งที่ฉันขอนำเสนอในคราวนี้ เป็นความยิ่งใหญ่ของสองอารยธรรมต่างยุคต่างสมัย แต่ลงหลักปักฐานอยู่ไม่ห่างไกลกันนักในแง่ภูมิศาสตร์ หนึ่งเป็นอารยธรรมที่ยังคงมีชีวิตแม้ว่าเวลาจะผ่านมากว่าพันปีแล้ว และอีกหนึ่งเป็นอารยธรรมที่ไม่มีชีวิตแต่เป็นรากฐานที่สำคัญของอารยธรรมอื่นๆมากมายในปัจจุบัน หนึ่งในอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่ฉันกำลังพูดถึงอยู่ที่เมืองเฟส (Fez) การไปเยือนเมืองนี้ของฉันเน้นหนักอยู่ที่อารยธรรมอาหรับสมัยกลางผสมผสานกับอารยธรรมพื้นเมืองเก่าแก่ดั้งเดิมของพื้นที่ ที่ถือกำเนิดและดำเนินมาจนถึงปัจจุบันในเขตเมืองเก่าที่รายล้อมด้วยกำแพงดิน หรือที่เรียกกันว่าเมดิน่า (Medina) ครั้งแรกที่ฉันนั่งรถไปถึงริมๆ กำแพงเมืองที่ว่า คนนำทางบอกให้ฉันลงจากรถแล้วเดินลากกระเป๋าไปสู่ที่พักที่ติดต่อจองเอาไว้ เนื่องจากในเขตเมืองที่ว่านี้ รถยนต์ไม่สามารถเข้าไปได้ ฉันพาตัวเองเดินลัดเลาะผ่านประตูกำแพงเล็กๆ เลี้ยงลดไปตามตรอกซอกซอยกว้างประมาณเมตรกว่าๆ ไปจนถึงหน้าที่พักที่เรียกกันว่าริยาด (Riad) แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นเหมือนเกสต์เฮ้าส์เล็กๆที่มีสไตล์เป็นของตัวเอง โดยการปรับสภาพที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิมของคนที่นี่มาเป็นที่พักให้นักเดินทาง เมื่อเดินผ่านประตูเล็กๆที่ไม่น่าจะมีอะไรเข้าไป ฉันก็ต้องชะงักงันกับความสวยงามและน่ารักของสถานที่ การประดับตกแต่งด้วยกระเบื้องสี ในลวดลายสวยงามที่ไม่คุ้นเคย มีใจกลางเป็นลานที่ตั้งวางโต๊ะอาหารและข้าวของเครื่องใช้แบบโมร็อค ลานกลางบ้านนี้ถูกล้อมรอบด้วยห้องเล็กๆกระทัดรัดที่มีหน้าต่างเปิดสู่ลานภายใน จากการเดินสำรวจการตกแต่งแต่ละห้อง จะเห็นว่าแต่ละห้องต่างก็มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองที่ถูกตกแต่งให้เข้ากับขนาดดั้งเดิมของห้อง ตัวอาคารที่มีลานตรงกลางนั้น สูงขึ้นไปเพียงแค่สามชั้น ถ้าจะเปรียบเทียบ ฉันคงได้แต่บอกว่า มันเป็นที่พักแบบที่บ้านเราเรียกว่าฮิปรีสอร์ทนั่นเอง ริยาดในเมดิน่าในเมืองเฟสแห่งนี้ มีอยู่หลายสิบแห่ง ซึ่งต่างก็มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองไม่เหมือนใคร ยกเว้นสิ่งที่เหมือนกัน คือการนำบ้านพื้นเมืองเก่าแก่มาปรับให้เป็นที่พักน การก้าวเท้าเข้าไปที่นี่ นอกจากจะได้เห็นลักษณะบ้านเรือนดั้งเดิมของพื้นที่แล้ว ยังทำให้ฉันตระหนักได้อีกอย่างหนึ่งว่า ฉันไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกับเจ้าของสถานที่และพนักงานที่นี่ได้ ภาษาฝรั่งเศสแบบงูๆปลาๆ ที่ยังคงค้างจากการร่ำเรียนมาเมื่อสิบกว่าปีก่อน จึงถูกขุดออกมาจากก้นบึ้งสมองอย่างเต็มที่ (กว่าจะได้น้ำร้อนสักกา) วันต่อมาที่ฉันได้มีโอกาสเดินเท้าเยี่ยมย่ำในเมดิน่าอย่างเต็มที่… Read More Maroc: From Fez to Volubilis

Maroc: Marrakesh

ภาพของเมืองสีแดงส้มของมาราเคชยามเย็นย่ำ เริ่มปรากฏให้เห็นในพื้นที่ราบเบื้องหน้า ในขณะที่รถตู้ของพวกเราวิ่งตัดผ่านดินแดนอันแห้งแล้งลงมาจากเทือกเขาแอตลาส หลังจากตระเวนเที่ยวอยู่หลายวันในเขตเทือกเขาและทะเลทรายอันกว้างใหญ่ของโมร็อคโค ความอึกทึกคึกคักของเมืองเริ่มขึ้น พร้อมกับถนนที่แคบลงและความจอแจของจราจรในเมือง รถพาพวกเราวนไปวนมา ตามความรู้สึกประสาผู้มาใหม่ ก่อนจอดลงข้างกำแพงสีแดงส้ม ริมกำแพงเมดิน่า เขตเมืองเก่าของเมือง คนขับทำท่าบอกพวกเราว่า เขาส่งได้แค่นี้ เมื่อลงจากรถ มีเด็กหลายคนวิ่งเข้ามาพร้อมชี้ชวนอะไรบางอย่าง พร้อมๆกันกับกรรมกรเข็นรถเข็นเข้ามาทาบทาม จากจุดนี้ พวกเราต้องเดินลากกระเป๋าเอาเอง หรือไม่ก็ต้องจ้างชายกรรมกรเหล่านี้ช่วยแบกของและนำทางพวกเราเข้าไปในทางแคบๆในเมดิน่า เพื่อไปยังที่พักที่นำบ้านแบบพื้นเมืองมาแต่งใหม่เป็นที่พักให้นักท่องเที่ยว หรือที่เรียกกันว่า ริยาด (Riad) เนื่องจากมาราเคชเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศโมร็อคโค และถือเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งของประเทศ ที่พักอย่างริยาด หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆคือเกสต์เฮ้าส์สุดฮิปจึงมีอยู่อย่างหลากหลาย ในเขตเส้นทางเขาวงกตของเมืองเก่า จนแม้แต่ไกด์พื้นเมืองของเราที่ไม่ใช่คนเมืองนี้ก็ไม่ทราบแน่ว่าริยาดที่พวกเราจองเอาไว้ตั้งอยู่ตรงไหนกันแน่ จึงหนีไม่พ้นที่จะต้องพึ่งคนนำทางและขนกระเป๋าพาพวกเราไปยังที่หมาย คนนำทางพาพวกเราเดินเลี้ยวไปเลี้ยวมาอยู่สี่ห้าครั้ง ก่อนจะพาเดินเข้าไปในทางแคบๆมืดๆ ไม่มีแสงไฟ และหยุดลงที่หน้าประตูไม้บานใหญ่แห่งหนึ่งมีป้ายชื่อริยาดเล็กๆติดอยู่ที่หัวมุม หลังจากลองกดกริ่งเรียกอยู่หลายครั้ง โทรศัพท์เรียกอยู่หลายหน จนพวกเราชักหวั่นๆว่ามาผิดที่หรือเปล่า ในที่สุด เจ้าของหรือผู้ดูแลก็เดินถือถุงพลาสติกกลับมาจากการซื้อของข้างนอก และมาเปิดประตูให้ (ด้วยความงุนงงของพวกเราทุกคน) อย่างไรก็ดี เมื่อผ่านประตูเข้าไปแล้ว พวกเราต่างก็ส่งเสียงกันอื้ออึงกับความฮิปของริยาดแห่งนี้ กำแพงสีพื้นสีขาว เรียบง่ายแต่ดูดี ลานกลางบ้าน มีโต๊ะกินข้าวข้างๆทางน้ำพุกลางพื้น ต้นไม้ประดับ มุมนั่งเล่น และบ่อแช่น้ำเล็กๆ อยู่ที่มุมหนึ่ง ความเรียบง่ายของตัวอาคารที่มีลานโล่งปลอดหลังคาตรงกลาง แปรเปลี่ยนไปอย่างแปลกตา เมื่อเพดานโล่งถูกประดับประดาจากแสงไฟหลากสีที่ส่องผ่านโคมไฟโลหะฉลุลาย… Read More Maroc: Marrakesh

Maroc: The Sahara

ก่อนหน้าที่จะมาที่โมร็อคโค ประเทศขนาดไม่ใหญ่ไม่โตทางตะวันตกของแอฟริกาเหนือติดมหาสมุทรแอตแลนติคแห่งนี้ หลายต่อหลายคนบอกฉันว่า นอกจากตลาดพื้นเมืองและซากโบราณสถานต่างๆแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการขี่อูฐท่องทะเลทรายซาฮาร่า แม้ว่าจะเป็นเพียงการเยี่ยมเยือนเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของทะเลทรายที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้ก็ตาม แต่ประสบการณ์บนหลังอูฐและเนินทรายอันกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ก็เรียกได้ว่าเป็น “ครั้งหนึ่งในชีวิต” ที่ยากที่จะลืมเลือนได้ ฉันมาถึงเมืองเออร์ฟูด (Erfoud) เอาตอนเย็นย่ำ หลังจากนั่งรถปุเลงๆ ผ่านเทือกเขาแอตลาสมาจากเมืองเฟส (Fez) อันลือชื่อ เป็นเวลากว่าแปดชั่วโมง ครอบคลุมระยะทาง 400 กว่ากิโลเมตร แม้ว่าเทือกเขาตามเส้นทางที่ผ่านมาจะมีทิวทัศน์ที่แปลกตาน่ารื่นรมย์มิใช่น้อย แต่บ้างส่วนก็ดูแห้งแล้งเหลือเกินในความรู้สึกของคนที่มาจากดินแดนเขตร้อนชื้นอันชุ่มฉ่ำของเมืองไทย ต้นอินทผลัม หนึ่งในพืชที่พบได้มากที่สุดในประเทศนี้ มีให้เห็นเป็นระยะๆ สลับกับทุ่งหญ้าแห้งๆและฝูงแพะฝูงแกะของชาวบ้าน เออร์ฟูด เหมือนเป็นเมืองโอเอซิสขนาดย่อมๆ ที่ตั้งอยู่กลางทะเลทรายอย่างไรอย่างนั้น เมื่อรถวิ่งลัดเลาะลงจากเทือกเขา ผ่านเข้ามายังบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบที่มีแนวต้นอินทผลัมขึ้นเป็นแนวขนาบถนนที่ผ่านเข้าเมือง รถเลี้ยวเข้าจอดข้างหน้าโรงแรมคาสบา ซาลูก้า ซึ่งดูภายนอกเหมือนเป็นป้อมที่ก่อสร้างจากดินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางพื้นที่อันแห้งแล้ง จริงๆแล้ว คำว่าคาสบา (Kasbah) เป็นชื่อของเมืองป้อมปราการสมัยก่อนของผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่แห้งแล้งแถบนี้ ภายในกำแพงดินของคาสบาโบราณจะมีบ้านเรือน โรงเรียน ที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและป้อมปราการที่ทำการของเจ้าผู้ครองคาสบา เปรียบเสมือนเป็นชุมชนเล็กๆ แห่งหนึ่งที่มีแทบทุกอย่างพร้อมสรรพอยู่ในตัว แต่ในยุคที่การท่องเที่ยวเฟื่องฟูแบบนี้ คาสบาถูกนำมาใช้เป็นชื่อเรียกโรงแรมขนาดใหญ่ที่สร้างจากดินและฟางตามลักษณะการก่อสร้างคาสบาดั้งเดิม โดยด้านในมีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน เมื่อฉันเดินผ่านประตูดินฝ่าความร้อนเข้าไปด้านใน ก็ต้องตะลึงกับการตกแต่งของโรงแรมที่มีแผ่นหินอ่อนมีซากฟอสซิลสวยงามขนาดใหญ่ตกแต่งอยู่เต็มล็อบบี้ เมื่อเดินลึกเข้าไปก็พบกับสระว่ายน้ำ และการตกแต่งที่นำเอาของพื้นเมืองต่างๆมาประดับประดาเต็มบริเวณลานกลางโรงแรม ห้องพักแทรกตัวอยู่ตามตึกดินสูง 2-3 ชั้น… Read More Maroc: The Sahara