Catching a Glimpse of the Naked Mountain, Nanga Parbat

Nanga Parbat และเทือกเขาบริวารที่สูงไม่ต่ำกว่า 7 พันเมตร ได้เผยตัวให้เห็นยอดอันเปล่าเปลือยปราศจากหิมะลอดผ่านช่องเมฆมาให้ฉันได้ยลความงามอันน่าตื่นตะลึงในที่สุด ไม่น่าเชื่อว่าเธอได้คร่าชีวิตผู้คนที่ต้องการพิชิตตัวเธอมาหลายต่อหลายสิบคนภายในไม่ถึงร้อยปีที่ผ่านมา เมื่อมนุษย์ได้เริ่มรู้จักตัวเธอ… Read More Catching a Glimpse of the Naked Mountain, Nanga Parbat

Karakorum (2): To the Border

น้ำทะเลสาบสีเขียวสวยใสตัดกับภูเขาสีน้ำตาลส้มของเทือกเขาคาราโครัม ก่อให้เกิดภาพวิวทิวทัศน์ใหม่ที่งดงามจนไม่น่าเชื่อว่า สิ่งที่ฉันได้เห็นตรงหน้านี้เกิดจากอุบัติภัยร้ายแรงทางธรรมชาติเมื่อไม่ถึง 10 ปีก่อน… Read More Karakorum (2): To the Border

Karakorum: Hunza Valley

ความงามของหุบเขาที่เป็นเมืองด้านล่างที่ใบไม้ค่อยๆทยอยเปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วง ผนวกกับยอดเขาสูง 6-7 พันเมตรที่ล้อมรอบ ไม่ว่าจะเป็น Rakaposhi, Ladyfinger Peak (6,000 เมตร), Golden Peak (7,027 เมตร) และยอดเขาอื่นๆที่มีหิมะปกคลุมโดยรอบ กระทบกับแสงอาทิตย์ยามอัสดงปรากฏภาพอันแสนงดงามที่ทำให้ลืมความเหนื่อยล้าของการเดินขึ้นเขาและการเดินทางได้โดยสิ้นเชิง… Read More Karakorum: Hunza Valley

Challenging the Altitude in Ladakh (2)

หลังจากชิมลางกับความสูงห้าพันเมตรต้นๆมาแล้ว ฉันกลับมาตั้งต้นที่เมืองเลห์ เมืองหลวงของลาดักห์อีกครั้ง ถึงตอนนี้ความสูง 3,500 เมตรของหนึ่งในดินแดนที่สูงที่สุดและแห้งแล้งที่สุดแห่งนี้ ไม่สร้างปัญหาให้ฉันเหมือนวันแรกๆที่มาถึงอีกต่อไป การเดินช้อปปิ้งหาซื้อของพื้นเมือง และของที่ระลึกต่างๆที่นี่ จึงเป็นสิ่งที่น่ารื่นรมย์กว่าช่วงวันสองวันแรก เมืองเลห์ถือเป็นศูนย์กลางของแคว้นที่จะเดินทางต่อไปยังเส้นทางอื่น เมื่อเปิดแผนที่กางออกดูแล้ว ฉันเห็นว่ายังมีอีกสองเส้นทางหลักที่ฉันยังไม่ได้ไปเยี่ยมเยือน หนึ่งคือถนนสายตะวันตกที่ต่อเชื่อมไปยังแคว้นแคชเมียร์ และสองคือเส้นทางสู่ทิศเหนือของลาดักห์ไปสู่หุบเขานูบร้าที่เชื่อมต่อไปยังจีน ฉันเลือกเดินทางสู่เส้นทางสายทิศตะวันตกก่อน แม้ว่าทางสายนี้จะเป็นเส้นทางดั้งเดิมที่เชื่อมต่อไปยังแคชเมียร์และดินแดนต่างๆของเอเชียกลางได้ แต่ฉันเลือกที่จะเดินทางไปไกลเพียงพอที่จะไปกลับได้เพียงหนึ่งวันเท่านั้น เนื่องจากต้องการใช้เวลาในลาดักห์ให้เต็มที่ ถนนราดยางค่อนข้างดีสายนี้ ลัดเลาะไปตามแม่น้ำสินธุ ที่ถือกำเนิดมาจากเทือกเขาหิมะ ภูมิประเทศระหว่างเส้นทางงดงามแปลกตา จนต้องขอหยุดถ่ายรูปเป็นพักๆ จนมาถึงจุดชมวิวแม่น้ำสองสายบรรจบกัน โดยแม่น้ำสินธุ (Indus) สายหลักมีสีใสกว่า ในขณะที่แม่น้ำซันสการ์ (Zanskar) มีสีโคลนขุ่นสีน้ำตาล ถือเป็นจุดของการบรรจบกันอย่างงดงามโดยมีวิวทิวเขาสลับซับซ้อนเป็นฉากหลัง ก่อนที่จะไหลรวมเป็นหนึ่งเดียวต่อไปเป็นแม่น้ำสินธุ ในบริเวณที่เรียกว่านิมู (Nimu) การเดินทางลดเลี้ยวไปตามถนนยังคงดำเนินต่อไป ไปหยุดแวะพักจริงๆอีกครั้งก็ที่เมือง Alchi ซึ่งห่างจากเลห์มาประมาณ 67 กิโลเมตร อันเป็นที่ตั้งของวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งสร้างขึ้นโดยคุรุรินเชนซางโป และดูเหมือนจะวัดแห่งเดียวในลาดักห์ที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนเขา การเดินเข้าชมวัดแห่งนี้ จึงไม่ยากลำบากเกินไปนัก แถมยังเดินผ่านหมู่บ้านที่มีต้นไม้และสายน้ำเล็กๆทอดตัว ดูร่มรื่นเป็นอย่างยิ่ง ตัววัดแบ่งเป็นตัวอาคารสามหลัง ประกอบกับสถูปเจดีย์เรียงราย ดูเก่าขรึมและขลังเพราะสร้างมาเกือบพันปีที่แล้ว มีภาพเขียนสีที่เก่าแก่และงดงามมากๆ (ขอย้ำอีกครั้งว่าสวยมาก) ภายใน (แต่ห้ามถ่ายรูป) รวมถึงรูปปั้นและเครื่องไม้แกะสลักเก่าแก่จากแคชเมียร์… Read More Challenging the Altitude in Ladakh (2)

Challenging the Altitude in Ladakh (1)

กล่าวกันว่าลาดักห์ ดินแดนที่ตั้งอยู่ในแคว้นทางเหนือของอินเดีย โอบล้อมด้วยขุนเขาที่มียอดสูงกว่า 7,000 เมตร ระหว่างที่ราบสูงทิเบตและเทือกเขาหิมาลัยทางทิศตะวันตกแห่งนี้ เป็นดินแดนที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ที่ “สูงที่สุดและแห้งแล้งที่สุด” แห่งหนึ่งของโลก แต่ดินแดนเดียวกันนี้ก็เป็นชุมทางการค้าที่สำคัญระหว่างอินเดีย จีนและเอเชียกลางมาแต่โบราณ จนได้ชื่อว่าเป็น “ดินแดนแห่งเส้นผ่านทางในที่สูง” อันเป็นความหมายและที่มาของคำว่า “ลาดักห์” จนเมื่อมีปัญหาทางการเมืองทางชายแดนระหว่างจีนกับทิเบต และเส้นทางถูกปิดกั้น เส้นทางการค้าแห่งนี้ก็ซบเซาลง ทิ้งไว้แต่วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของพุทธศาสนาแบบทิเบตที่เข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแห่งนี้ ที่ได้หล่อหลอมผู้คนและวัฒนธรรมประเพณีอันมีความโดดเด่นเฉพาะตัว ไม่น่าแปลกใจว่าเมื่อเริ่มมีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านเข้ามาในบริเวณนี้เมื่อ 30-40 ปีก่อน จะตั้งฉายาลาดักห์แห่งนี้ว่า “ทิเบตน้อย (Little Tibet)” ฉันเดินทางมาถึงเลห์ (Leh) เมืองที่ตั้งอยู่ที่ความสูง 3,505 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลในหุบเขาสินธุ อันเรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงของลาดักห์ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในหน้าร้อน ที่อากาศไม่หนาวเหน็บจนเกินไป โดยสายการบินภายในประเทศที่บินตรงจากเมืองหลวงของประเทศอย่างกรุงนิวเดลฮี ที่ช่วยร่นระยะเวลาในการเดินทางไม่ใช่น้อย จากการเดินทางแบบเดิมที่ต้องรอนแรมตีรถขึ้นเหนือมาเรื่อยๆจากเมืองทางด้านใต้อย่างมานาลี ที่ต้องใช้เวลาเป็นวันๆกว่าจะมาถึง หรือเดินทางลัดเลาะมาตามถนนจากทางด้านเมืองศรีนาคาในแคชเมียร์ทางทิศตะวันตก หากแต่การมาถึงที่ระดับความสูงเกินกว่า 3,500 เมตร จากพื้นราบในทันทีทันใดแบบนี้ ก็หลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องระมัดระวังกับอาการที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นประจำสำหรับคนที่ไม่คุ้นชิน อันได้แก่ ปวดหัว นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ฯลฯ ที่เรียกกันว่า โรคความสูง (altitude sickness) ซึ่งจะไม่เกิดอาการในทันที และจะแสดงอาการอย่างเด่นชันเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ… Read More Challenging the Altitude in Ladakh (1)

Kashmir, Paradise on Earth

ทั้งแนวเทือกเขายอดหิมะสูงตระหง่าน สับหว่างด้วยหุบเขาเขียวชอุ่มและลำธารน้ำใส กอปรกับดอกไม้นานาพรรณที่ประกอบกันขึ้นมาบนดินแดนแห่งนี้ งดงามแปลกตาสมกับที่องค์จักรพรรด์จาฮานกีร์ เคยตรัสไว้เมื่อได้เดินทางมาถึงที่นี่ในครั้งแรกว่า “หากจะมีสวรรค์บนพื้นพิภพนี้ ก็คือที่นี่ แคชเมียร์”… Read More Kashmir, Paradise on Earth

Finding Bhutan King in the Kingdom of Bhutan (II)

“ที่จริงตำรวจเขาบอกว่าไม่ให้บอกหรอกนะ แต่เห็นพวกเราคลั่งไคล้เหลือเกินตั้งแต่มาถึง… กรุณานั่งเฉยๆ อย่าหยิบกล้องขึ้นมา แล้วก็ห้ามส่งเสียงดัง…กษัตริย์ของเรา (ท่านจิ๊กมี่ เคซาร์) กำลังปั่นจักรยานขึ้นเขาอยู่ข้างหน้า เดี๋ยวรถเราจะต้องขับผ่าน!”…… Read More Finding Bhutan King in the Kingdom of Bhutan (II)

Rajasthan: Rich Heritage and Colourful Culture

เมื่อพูดถึงอินเดียหลายๆคนอาจเข็ดขยาดจากการได้ยินได้ฟังมาถึงความสกปรก ไร้ระเบียบ แออัด ยัดเยียด มีแต่คนคิดจะหลอกนักท่องเที่ยว ฯลฯ ซึ่งคงไม่น่าแปลกอะไรกับประเทศที่มีประชากรมากล้นเป็นอันดับสองของโลก และร่ำๆจะแซงหน้าขึ้นเป็นอันดับหนึ่งได้ในไม่ช้าไม่นาน แต่ถึงกระนั้นอินเดียก็มีอะไรหลายๆอย่างเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจให้ชวนหลงใหลสำหรับหลายๆคนที่ได้ไปเยือนแดนภารตะแห่งนี้มาแล้ว ไม่ว่าคุณจะชื่นชอบธรรมชาติ ป่าเขา หิมะ ทะเลทราย หรือชื่นชมเมืองเก่าอุดมไปด้วยวัฒนธรรมอันหลากหลาย เนื่องเพราะอินเดียมีพื้นที่กว้างใหญ่ มีภูมิประเทศที่หลากหลาย และที่สำคัญเป็นหนึ่งในดินแดนที่ก่อเกิดอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ส่งอิทธิพลต่อนานาประเทศมาเป็นเวลาช้านาน ยิ่งได้ออกนอกเมืองใหญ่ๆอย่างเดลฮี ไปเที่ยวในต่างถิ่นห่างไกลบ้าง คุณจะพบว่าชาวอินเดียมีน้ำใจให้อย่างเหลือเฟือและอาจจะลบภาพเดิมๆที่เคยอยู่ในความคิดจากการที่ได้ยินได้ฟังมาก็เป็นได้ ฉันพาตัวเองมายืนอยู่ในรัฐทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียที่มีชื่อว่า Rajasthan รัฐราชสถาน-ดินแดนแห่งราชา แค่ชื่อของรัฐก็บ่งบอกได้อย่างเพียงพอแล้วว่า ดินแดนนี้จะรุ่มรวยอารยธรรมเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้อมปราการและราชวังของมหาราชาต่างๆที่ต่างคนต่างพากันมาสร้างสรรปั้นแต่งไว้ในดินแดนแถบนี้เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ บริเวณแถบนี้แต่เดิมเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของเผ่าพันธุ์นักสู้แห่งราชปุต (Rajput) มาช้านาน โดยชาวพื้นเมืองเรียกดินแดนแถบนี้ว่า Mewar (ดินแดนแห่งความตาย) แม้ว่าจะถูกชนเผ่ามุสลิมราชวงศ์โมกุลเข้ามามีบทบาทสำคัญบ้าง แต่กระแสราชวงศ์ราชปุตก็ยังคงฝั่งรากเหนียวแน่นอยู่ในดินแดนแห่งนี้ ฉันขอละที่จะไม่กล่าวถึงเมือง Jaipur (ชัยปุระ) อาจออกเสียงว่าไจปูร์ อันเป็นเมืองหลวงของ ราชสถานและเป็นหนึ่งในสามของเส้นทางเมืองท่องเที่ยวสามเหลี่ยมทองคำของอินเดีย (เดลฮี-ชัยปุระ-อัครา)ในครั้งนี้ เนื่องจากต้องการพาคุณไปสัมผัสเมืองอันแสนโรแมนติคจนติดอันดับโลกอย่าง Udaipur (อุทัยปุระหรืออุไดปูร์) และเมืองสีฟ้าของ Jodhpur (โยธปุระหรือจ๊อดปูร์) เพื่อหลีกหนีความวุ่นวายมากๆของเมืองหลวงทั้งหลาย มาสู่เมืองไม่เล็กไม่ใหญ่แต่มีเสน่ห์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไปของทั้งสองเมืองนี้ ทะเลสาป Pichola แห่งอุทัยปุระกลางใจเมืองที่เกิดจากการสร้างเขื่อนในสมัยก่อน และปราสาททั้งริมน้ำและกลางน้ำของที่นี่ เป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เมืองนี้ได้ชื่อว่าเป็นเมืองโรแมนติคที่สุดของรัฐราชสถาน หากอยู่ในมุมมองและช่วงเวลาที่เหมาะสม… Read More Rajasthan: Rich Heritage and Colourful Culture